•• สบตากับผู้รับการปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่กำลังพูดถึงเรื่องที่ละเอียดอ่อน
•• นั่ง “กับ” ผู้รับการปรึกษา และไม่ใช่นั่งอยู่หลังโต๊ะทำงาน
•• นั่งห่างจากผู้รับการปรึกษาตามความเหมาะสมทางวัฒนธรรมและหันหน้าเข้าหาผู้รับการปรึกษา
•• นั่งอย่างผ่อนคลายแต่ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ (นั่งแบบไม่เป็นทางการเกินไปและไม่เป็นกันเองจนเกินไป)
•• อย่าคอยมองนาฬิกาเพื่อดูเวลาหรืออย่ารับโทรศัพท ์ หรือทำอย่างอื่นที่จะรบกวนสมาธิขณะที่ผู้รับการปรึกษากำลังพูดทักษะในการใช้ภาษาท่าทาง– สิ่งสำคัญที่ต้องใช้ให้ถูกต้อง
•• อย่าแสดงอาการที่บ่งบอกถึงความรู้สึกไม่พอใจ เช่น แสดงอาการฮึดฮัด ถอนหายใจ และทำเสียงบ่น
•• อย่าหัวเราะหรือแสดงอาการเมื่อผู้รับการปรึกษาพูดอะไรที่น่าอับอาย
•• พูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล (ไม่ใช้น้ำเสียงแบบเจ้านายหรือสั่งการ)
การแสดงออกให้เห็นว่าตั้งใจฟังและเข้าใจในสิ่งที่ผู้รับการปรึกษาพูด
การเรียบเรียงคำพูดใหม่ (Paraphrasing) คือการพูดถึงสาระสำคัญที่ผู้รับการปรึกษาได้พูดไปแล้ว โดยใช้คำพูดของตัวเอง เช่นผู้รับการปรึกษาพูดว่า “ผมรู้สึกว่าพึ่งตัวเองไม่ได้ งานบ้านก็ทำไม่ได้ ส่งลูกไปโรงเรียนก็ไม่ทันทำอาหารเองก็ไม่ได้ ผมทำแบบที่ภรรยาผมเคยทำไม่ได้เลย” จากนั้นผู้ให้การปรึกษาพูดว่า “คุณรู้สึกว่ามีภาระมากเพราะต้องทำในสิ่งที่คุณไม่เคยทำตอนที่ภรรยาของคุณยังมีชีวิตอยู่”
การสะท้อนอารมณ์และความรู้สึก (Reflecting emotions) คล้ายกันกับการพูดแบบเรียบเรียงคำพูดใหม่ แต่จะเน้นการสะท้อนอารมณ์และความรู้สึกของผู้รับการปรึกษา เช่น ผู้รับการปรึกษาพูดว่า “หนูไม่รู้ว่าจะทำอะไร ก่อนที่สามีของหนูจะตาย หนูสัญญากับเขาว่าจะดูแลแม่ของเขาจนตลอดชีวิต แต่ตอนนี้หนูไม่มีเรี่ยวแรงเลย หนูทำอะไร
ไม่ได้เลยสักอย่าง เขารู้ดีว่าแม่ของเขาไม่ค่อยจะถูกกับหนู และรู้ว่าสถานการณ์ต้องแย่ลง ทำไมเขาต้องจากหนูไป แล้วทิ้งหนูไว้แบบนี้?” ผู้ให้การปรึกษาสะท้อนว่า“ตอนนี้ดูเหมือนว่าคุณกำลังรู้สึกแย่มากและไม่มีแรงที่จะทำอะไรแต่ในขณะเดียวกันคุณก็รู้สึกผิดและโกรธที่คุณได้ให้สัญญากับสามีคุณไว้”
วิธีถามคำถาม
คำถามปิด (Closed question): คือคำถามที่ตอบได้ด้วยคำตอบเพียงคำเดียวว่า “ใช่ หรือ ไม่ใช่” เช่น หากถามว่า “คุณมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยหรือเปล่า?” คำถามแบบนี้อาจได้คำตอบที่ไม่ตรงกับคำถาม เพราะผู้รับการปรึกษาอาจตอบว่า “ครับ/ค่ะ” แต่ว่าสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยนั้น จริงๆ อาจไม่ปลอดภัย
ก็ได้
คำถามนำ (Leading questions): เป็นการชี้นำผู้รับการปรึกษาว่าเราอยากให้เขาตอบว่าอะไร เช่น ถ้าถามว่า“คุณใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่หรือ?” ผู้รับการปรึกษาก็อาจตอบแบบไม่ถูกต้อง
คำถามเปิด (Open questions): เป็นคำถามที่ใช้คำว่า “อย่างไร” “อะไร” “ที่ไหน” เช่น “มีหลายคนที่มีปัญหาใน การใช้ถุงยางอนามัย แล้วคุณล่ะ เจอปัญหาอะไรบ้าง?” คำถามแบบเปิดนี้ จะทำให้ผู้รับการปรึกษาต้องพูดอธิบายรายละเอียดหรือบรรยายคำตอบใช้ความเงียบบ้างในบางครั้ง – อย่าพูดมากเกินไป
การใช้ความเงียบในบางครั้งเป็น
สิ่งที่สำคัญเพราะจะช่วยให้ผู้รับการปรึกษา
•• มีเวลาคิดว่าจะพูดอะไร
•• มีโอกาสแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก
•• ไม่เร่งรีบในการสนทนา
•• มีเวลาตัดสินใจว่าจะเปิดเผยหรือพูดคุยในเรื่องอะไรบ้าง และ
•• เลือกได้ว่าจะพูดต่อไปหรือไม่
ที่มา : คู่มืออ่านประกอบการให้การปรึกษาเพื่อการตรวจเอชไอวี สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น